ตอนที่ 1 จงอธิบายคำถามต่อไปนี้
1. จงยกตัวอย่างระบบสารสนเทศที่นักเรียนพบเห็นในชีวิตประจำวันมาอย่างน้อย 5 ระบบ
ตอบ 1.1 ระบบสารสนเทศเพื่อการศึกษา1.2 ระบบสารสนเทศเทคโนโลยีการเกษตร
1.3 ระบบสารสนเทศทางการเเพทย์
1.4 ระบบสารสนเทศการเงินการธนคาร
1.5 ระบบสารสนเทศการแสดงหุ้นของบริษัทต่างๆ
จงยกตัวอย่างพร้อมอธิบาย
ตอบ. การประยุกต์เอาความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์มาจัดการสารสนเทศที่ต้องการโดยอาศัยเครื่อง มือทางเทคโนโลยีใหม่ๆ เช่น เทคโนโลยีด้านคอมพิวเตอร์ เทคโนโลยีด้านเครือโทรคมนาคมและการสื่อสาร
ประโยชน์ของเทคโนโลยีสารสนเทศเราสามารถใช้ได้แทบจะทุกแขนง เช่น ด้านการศึกษาที่ลดปัญหาทางด้านเวลาและระยะทางในการเรียนได้โดยจัดตั้งศูนย์การเรียนรู้ตามชุมชนที่อาศัยเทคโนโลยีสารสนเทศเป็นเครื่องมือ ฯลฯ
3. องค์ประกอบของระบบสารสนเทศมีกี่ส่วน อะไรบ้าง
ตอบ มี 5 องค์ประกอบ ได้แก่ ฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ ข้อมูล บุคลากร และขั้นตอนการปฏิบัติงาน
ฮาร์ดแวร์เป็นองค์ประกอบสำคัญ หมายถึง เครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์รอบข้าง
ซอฟต์แวร์หรือโปรแกรมคอมพิวเตอร์ เป็นชุดคำสั่งที่สั่งให้ฮาร์ดแวร์ทำงาน
ข้อมูล เป็นส่วนที่จะนำไปจัดเก็บในเครื่องคอมพิวเตอร์
บุคลากรเป็นผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับงานคอมพิวเตอร์
ขั้นตอนการปฏิบัติงาน เป็นสิ่งที่จะต้องเข้าใจเพื่อให้ทำงานได้ถูกต้องเป็นระบบ
4. จงอธิบายการประมวลผลแบบกลุ่ม และ แบบเชื่อมตรง
ตอบ การประมวลผลแบบเชื่อมตรง (online processing) หมายถึงการทำงานในขณะที่ข้อมูลวิ่ง ไปบนสายสัญญาณเชื่อมต่อจากเครื่องปลายทาง (terminal) ไปยังฐานข้อมูลของเครื่องหลักที่ใช้ในการประมวลผล การประมวลผลแบบเชื่อมตรงจึงเป็นการประมวลผลโดยทันทีทันใด เช่น การจองตั๋วเครื่องบิน การซื้อสินค้าในห้างสรรพสินค้า การฝากถอนเงินเอทีเอ็ม การประมวลผลแบบเชื่อมตรงจึงเป็น วิธีการที่ใช้กันมากวิธีหนึ่ง
ตอบ การประมวลผลแบบเชื่อมตรง (online processing) หมายถึงการทำงานในขณะที่ข้อมูลวิ่ง ไปบนสายสัญญาณเชื่อมต่อจากเครื่องปลายทาง (terminal) ไปยังฐานข้อมูลของเครื่องหลักที่ใช้ในการประมวลผล การประมวลผลแบบเชื่อมตรงจึงเป็นการประมวลผลโดยทันทีทันใด เช่น การจองตั๋วเครื่องบิน การซื้อสินค้าในห้างสรรพสินค้า การฝากถอนเงินเอทีเอ็ม การประมวลผลแบบเชื่อมตรงจึงเป็น วิธีการที่ใช้กันมากวิธีหนึ่ง
การประมวลผลแบบกลุ่ม (batch processing) หมายถึง การประมวลผลในเรื่องที่สนใจเป็นครั้ง ๆ เช่น เมื่อต้องทราบข้อมูล ผลสำรวจความนิยมของประชาชนต่อการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทน หรือที่เรียกว่า โพล(poll) ก็มีการสำรวจข้อมูลเพื่อเก็บรวบรวมข้อมูล เมื่อเก็บรวบรวม ข้อมูลได้แล้ว ก็นำมาป้อนเข้าเครื่องคอมพิวเตอร์ แล้วนำข้อมูลนั้นมาประมวลผลตามโปรแกรมที่ได้กำหนดไว้ เพื่อรายงานผล หรือสรุปผลหาคำตอบ กรณีการประมวลผลแบบกลุ่ม จึงกระทำในลักษระเป็นครั้ง ๆ เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ โดยจะต้องมีการรวบรวมข้อมูลไว้ก่อน
ในการประมวลผลทั้งสองแบบนี้ เป็นวิธีการที่ใช้คอมพิวเตอร์ช่วยดำเนินการกับข้อมูลจำนวนมากเพื่อแยกแยะ คำนวณ หรือดำเนินการตาม ที่กำหนดไว้ในโปรแกรม การทำงานของคอมพิวเตอร์ ในการประมวลผลจึงต้องมีซอฟต์แวร์ หรือโปรแกรมคอยสั่งการ เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ในรูปแบบที่ต้องการ
ในการประมวลผลทั้งสองแบบนี้ เป็นวิธีการที่ใช้คอมพิวเตอร์ช่วยดำเนินการกับข้อมูลจำนวนมากเพื่อแยกแยะ คำนวณ หรือดำเนินการตาม ที่กำหนดไว้ในโปรแกรม การทำงานของคอมพิวเตอร์ ในการประมวลผลจึงต้องมีซอฟต์แวร์ หรือโปรแกรมคอยสั่งการ เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ในรูปแบบที่ต้องการ
5. ประโยชน์ของ Geographic Information System มีอะไรบ้าง
ตอบ ช่วยให้การจัดเก็บและประมวลผลข้อมูลทางภูมิศาสตร์มีความสะดวกมากยิ่งขึ้น สามารถจัดการกำหนดข้อมูลด้านตำแหน่งที่ตั้งบนผิวโลก ที่รวบรวมจากแหล่งต่างๆ ทั้งข้อมูลพื้นที่แผนที่ รูปถ่ายทางอากาศ ภาพถ่ายทางดาวเทียม เพื่อนำมาเป็นข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนาผังเมือง ประยุกต์ใช้งานทางด้านธรณีวิทยา หรือการพยากรณ์อากาศ เป็นต้น
6. ให้นักเรียนยกตัวอย่างระบบสารสนเทศระดับต่างๆ มาอย่างน้อยระดับละ 1ตัวอย่าง
ตอบ 1. สารสนเทศระดับบุคคล คือ สารสนเทศที่ส่งเสริมการทำงานให้แก่ผู้ใช้แต่ละคน
ทำให้การทำงานในหน้าที่ที่รับผิดชอบมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ซึ้งสารสนเทศที่ใช้จะมีความแตกต่างกัน
ไปตามลักษณะของการทำงานและความรับผิดชอบของแต่ละบุคคล เช่น พนักงานขายใช้สารสนเทศใน
การนำเสนอสินค้าให้ดูน่าสนใจ เลขานุการใช้สาสนเทศจัดทำจดหมายเวียนส่งให้แก่ผู้ร่วมประชุมและ
นักเรียนใช้สาสนเทศทำรายงานที่สะอาดเรียบร้อย
2. สารสนเทศระดับกลุ่ม คือ สารสนเทศที่ช่วยส่งเสริมการทำงานของกลุ่มบุคคลทีมีจุดมุ่งหมายในการทำงานอย่างเดียวกัน ซึ่งจะส่งเสริมการใช้ข้อมูลและอุปกรณ์เทคโนโลยีพื้นฐานร่วมกัน
สาสนเทศระดับกลุ่มจึงมีการใช้ระบบเครือข่ายมาร่วมในการทำงาน จึงทำให้สามารถใช้อุปกรณ์
คอมพิวเตอร์และข้อมูลที่เก็บไว้ในระบบฐานข้อมูลร่วมกัน ด้วยการสร้างแฟ้มข้อมูลที่ เครื่อง
เซิร์ฟเวอร์(Server)ซึ่งทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางในการเก็บข้อมูล เช่น พนักงานขายสามารถใช้สินค้าแบบ
เดียวกันได้ทุกคน ผู้ร่วมประชุมสามารถใช้เอกสารประกอบการประชุมชุดเดียวกันจากสถานที่ใดก็ได้ และ
นักเรียนสามารถสั่งพิมพ์เอกสารด้วยเครื่องพิมพ์เดียวกันจากคอมพิวเตอร์เครื่องใดก็ได้ในห้องปฏิบัติการ
คอมพิวเตอร์
3. สารสนเทศระดับองค์กร คือ สารสนเทศที่ส่งเสริมการทำงานในภาพรวมขององค์กรซึ่ง
จะเกี่ยวข้องสัมพันธ์ในหลายฝ่าย จึงมีการเชื่อมโยงสารสนเทศระดับกลุ่มหลาย ๆ กลุ่ม เข้าด้วยกัน ทำให้
เกิดประโยชน์ในการบริหารงานในระดับผู้ปฏิบัติการและผู้บริหารระดับสูง เนื่องจากสามารถใช้ข้อมูลจาก
ฝ่ายใดก็ได้ เพื่อประโยชน์ในการตัดสินใจเป็นหลัก
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น